4 ตุลาคม 2018

ไขมันทรานส์ – ไขมันตัวร้ายที่หน้าตาดี

หลายคนสงสัยว่า #ไขมันทรานส์ ทำไมถึงเป็นอันตราย ทั้งที่เราก็ทานกันอยู่เป็นประจำ วันนี้ “ออร์แกนิคซีดส์” จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจกันแบบง่ายๆ ก่อนที่สุขภาพเราจะพังมากไปกว่านี้… พร้อมแล้วเริ่มกันเลยยยยย

ไขมันเป็นสารอาหารที่มีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของเซลล์ การทำงานของระบบประสาทและ สมอง ปกป้องอวัยวะภายใน ให้ความอบอุ่น ช่วยในการดูดซึมวิตามินต่างๆ และยังมีส่วนสำคัญในการ สร้างฮอร์โมนอีกด้วย แต่ไขมันก็มีทั้งแบบที่ดีและไม่ดี

HDL (High Density Lipoprotein) คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นสูง เป็นไขมันที่ดี ทำหน้าที่ในการนำ
โคเลสเตอรอลส่วนเกินจากเซลล์กลับไปยังตับ เพื่อทำลายหรือขับออกในรูปของเสียจากร่างกาย

LDL (Low Density Lipoprotein) คือ ไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำ เป็นไขมันไม่ดี ทำหน้าที่ขนส่ง โคเลสเตอรอลไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกาย หากมีมากกว่าที่เซลล์ต้องการก็จะไปสะสมที่บริเวณผนัง หลอดเลือด เป็นชนิดที่อันตรายและส่งผลร้ายต่อสุขภาพได้

 

เลือกทานอาหารอย่างไรดี

ประเภทของไขมัน
1. ไขมันดี เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง มีส่วนช่วยลด LDL หรือ ไขมันที่ความหนาแน่นต่ำ เป็นไขมันที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และเพิ่ม HDL หรือไขมันที่มีความหนาแน่นสูง เป็นไขมันที่ดีสำหรับหลอดเลือดแดงเพราะจะป้องกันไม่ให้ไขมันที่ไม่ดี คือ โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์
และ LDL ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ลดโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์
1.1 ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว: olives, almonds, nuts, pumpkin seeds 1.2 ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน: flax seeds

2. ไขมันเลว มีความคงตัว หรือเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
2.1 ไขมันอิ่มตัว เพิ่มทั้ง LDL และHDL เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ พบมากในชีสและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์

2.2 ไขมันทรานส์ เพิ่ม LDL และยังลด HDL จึงถือว่าเป็นไขมันที่มีผลเสียต่อร่างกายมากที่สุด เพิ่ม ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือด เบาหวาน และก่อให้เกิดอาการอักเสบ พบมากในมาการีน เนยแท่ง น้ำมันทอดซ้ำในฟาสต์ฟู้ดส์ ขนมอบ

(ที่มา: https://www.doctor.or.th/ask/detail/2236,https://www.webmd.com/diet/guide/types-fat-in-foods)

ประเภทของไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ (trans fatty acids) เป็นไขมันไม่อิ่มตัว แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

1.ไขมันทรานส์จากธรรมชาติ พบ ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์เคี้ยวเอื้อง อย่างเนื้อสัตว์ติดมัน นม เนย ซึ่ง พบได้ในปริมาณน้อยมาก

2.ไขมันทรานส์ที่เกิดจากการ สังเคราะห์ โดยกระบวนการเติม ไฮโดรเจนบางส่วนเข้าไปในน้ำมัน พืช (partially hydrogenated oils : PHOs) เพื่อให้น้ำมันมี คุณสมบัติคงตัว ไม่เหลวง่าย เก็บได้ นาน ทนความร้อนสูง ปัญหาอยู่ที่ กระบวนการ “เติมไฮโดรเจน บางส่วน” ไม่เติมครบส่วน 100 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดกรดไขมันทรานส์ขึ้นมา ยิ่งเปอร์เซ็นต์การเติมไฮโดรเจนน้อย การเกิดไขมันทรานส์ก็ยิ่งมาก

เนยแท้ได้มาจากโปรตีน ไขมันสัตว์ ไม่มีการเติมไฮโดรเจนทำให้แข็งตัว เช่นเดียวกับชีส แต่ชีสมีการใช้แบคทีเรีย เพื่อถนอมอาหาร ผ่านกระบวนการบ่ม ทำให้แข็งตัวเป็นก้อน

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการลดต้นทุนเพราะเนื่องจากเนย ราคาสูง จึงหันมาใช้เนยเทียม เป็นส่วนผสมในการทำขนมหรืออาหารต่างๆ

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ไขมันทรานส์และอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็น ส่วนประกอบ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 ย้อนไปก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน พฤษภาคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกแถลงการณ์รณรงค์ให้ทั่วโลกเลิกใช้ ไขมันทรานส์ โดยมีเป้าหมายให้ไขมันทรานส์หมดไปจากโลกภายในปี ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566)

ฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ระบุว่า “ ไขมันทรานส์ 0% ” ไม่ได้แปลว่า ไม่มีไขมันทรานส์เลย แต่ผลิตภัณฑ์

ดังกล่าวอาจมีการปนเปื้อนในปริมาณน้อยกว่าตามที่แต่ละประเทศกำหนดต่อหนึ่งหน่วยบริโภค จึงเขียนได้ว่า 0% ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าไม่มีไขมันทรานส์เลย

ข้อควรสังเกต ผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่ามี “hydrogenated oil” เป็นส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นในปริมาณ น้อยก็ตาม ผลิตภัณฑ์นั้นก็ไม่สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากไขมันทรานส์ได้

ไขมันที่ผ่านการแปรรูป ทานเข้าไปแล้วร่างกายไม่สามารถกำจัดออกได้ง่ายๆ
เพราะทำให้ HDL โคเลสเตอรอลชนิดดีลดลง และLDL โคเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และเกิดการอุดตัน กั้นทางเดินของเลือด ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมองตีบ เราจึงควร หลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันทรานส์ และที่สำคัญควรทำร่วมกันนั่นคือ การเลี่ยงทาน อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง น้ำตาลสูง เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัย